วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการให้คำแนะนำด้านสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายดังต่อไปนี้

วิตามินดี
มีการวิจัยว่าการขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกเปราะ ซึ่งจะทำให้หลังค่อมในผู้สูงอายุ กระดูกแตก เปราะ ดังนั้น นมเป็นแหล่งวิตามินดีที่ดีที่สุด

ธาตุเหล็ก
ผู้หญิงมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการเสียเลือดทุกเดือน จากการมีรอบเดือน ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และหากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ท่านจะมีอาการเหนื่อยง่าย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง อาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อแดง ปลา ธัญพืช ผักขม พืชกระกูลถั่ว และผักต่าง ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกไทย มะเขือเทศ พืชจำพวกมะนาว กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง

คลเซียม
เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้กระดูกแข็งแรง ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะสูญเสียมวลกระดูก 1% ทุกปี ซึ่งนำไปสูงสาเหตุของการเป็นโรคกระดูกเปราะ แต่หากท่านรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และ 1,500 มิลลิกรัมหลังวัยหมดประจำเดือน ก็จะช่วยทดแทนมวลกระดูกที่เสียไปได้

นม เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด นมพร่องมันเนย 1 แก้ว ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม นมเปรี้ยวพร่องมันเนย ปลาซาดีน ปลาแซลมอนติดกระดูกอ่อนก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

ผัก ผลไม้ และธัญพืช อาหารเพื่อสุขภาพกลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งเพื่อป้องกัน และต่อสู้โรคร้าย ทุกวันนี้หลายท่านมีมุมมองในการรับประทานผักโดยคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ผักมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่รับประทานกันแพร่หลาย ผักพื้นบ้านที่เราไม่คุ้นเคย ขอแนะนำผักพื้นบ้านที่หารับประทานได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการป้องกัน และรักษาโรค


คุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต




วิตามิน (Vitamin) ทำหน้าที่เป็นตัว Co=enzyme ช่วยให้เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังช่วยในการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

เกลือแร่ (Mineral) ที่จำเป็นต่อร่างกายมี 16 ชนิด ช่วยในการเสริมฤทธิ์กับวิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานตามปกติ ช่วยเร่งการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่ ๆ

เส้นใยอาหาร (Fiber) มีส่วนสำคัญต่อร่างกายในขบวนการย่อยอาหาร และช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่ให้พลังงานป้องกันอาการท้องผูก และท้องเสีย นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาล และคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด

โปรตีน (Protein) ร่างกายย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการเสริมสร้างเซลล์ใหม่ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังให้พลังงานอีกด้วย


อาหารสำหรับผู้ป่วย
หลาย ๆ ท่านคงเคยประสบปัญหาที่ว่ารับประทานอาหารน้อยลง แต่ทำไม่ความอ้วนถึงไม่ค่อยจะยอมลดลงสักเท่าไร ทั้ง ๆ ที่กิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตก็แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย อีกทั้งสุขภาพโดยรวมกลับจะแย่ลงด้วยซ้ำ ทั้งโรคในระบบหลอดเลือด และหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น

ลองศึกษาในเรื่องประเภทของอาหารต่าง ๆ ทั้ง 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ที่รับประทานดูว่าเหมาะสมหรือไม่กับสุขภาพโดยรวมของท่านแล้วหรือยัง

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชงโค

ชื่อพื้นเมือง : ชงโค

ชื่ออื่น : เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia blakeana Dunn.

ชื่อสามัญ : Orchid Tree

ชื่อวงศ์ : Caesalpiniaceae

สภาพนิเวศน์ : -

ประโยชน์

ราก ใช้เป็นยาขับลม เปลือก แก้บิด แก้ท้องร่วง

ใบ ต้มรักษาอาการไอ ดอก แก้ไข้ ยาระบาย

ลักษณะทั่วไป

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 10 เมตร ใบเกือบกลม แยกเป็น 2 แฉกลึก ปลายแฉกกลม ช่อดอก

ออกข้าง ๆ หรือปลายกิ่ง 6 -10 ดอก กลีบรองดอกตะแคงข้าง กลีบดอกชมพูถึง

ม่วงเข้่ม กลีบแคบ เกสรตัวผู้ 3 อัน รังไข่มีขน ฝักแตก ฝักยาว 20 -25 ซม. เมล็ดกลม

10 เมล็ด ออกดอกเืดือนกันยายน - กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน



มณฑา : มีชื่ออื่นๆว่า ยี่หุบ จอมปูน จำปูนช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Talauma candollei Bl.
วงศ์ : MAGNOLIACEAE



สายหยุด

ชื่อวิทยาศาสร์ Desmos chinensis Lour.

ตระกูล ANNONACEAE

ชื่อสามัญ Desmos

ลักษณะทั่วไป

ต้น สายหยุดเป็นไม้เถาเลื้อยกึ่งไม้ยืนต้น มีเถาใหญ่แข็งแรงสามารถเกาะเลื้อยพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่น ๆ
ไปได้ไกล และมักจะแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณยอด และจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปเป็นบริเวณ
กว้าง กิ่งอ่อนจะมีสีน้ำตาลและมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป ส่วนกิ่งแก่นั้นจะมีสีดำเป็นมัน ไม่มีขน


ใบ ใบจะออกสลับกันตามข้อต้น ใบจะเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็ฯติ่งสั้น
โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างจะมีขน ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ใบสีเขียวเข้ม
ดอก สายหยุดจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกแบบตามขอต้นโคนก้านใบ และที่ตาซึ่งติดกับลำต้นลักษณะของ
ดอกเมื่อยังตูมอยู่จะเป็นสีเขียว และเมื่อบานจึงจะเป็นสีเหลือง ดอกจะห้อยลง ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก
5-6 กลีบ แบ่งเป็ฯ 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกจะบิดงอเช่นเดียวกันกับดอกกระ
ดังงาไทย มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมากอยู่ภายในดอก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่
พอสายกลิ่นก็จะค่อย ๆ ลดความหอมลง และจะหมดกลิ่นหอมลงเมื่อใกล้เวลาเที่ยงวัน
การปลุก
สายหยุดมีวิธีการปลูก โดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมาปลูกลงดิน
หลังปลูกประมาณ 3-4 ปี จึงจะให้ดอก




ชื่อวิทยาศาสตร์ Bovgainvillea hybrid
ชื่อสามัญ Bovgainvillea , Paper Flower
ชื่อวงศ์ Nyctaginaceae
เพื่องฟ้าเป็นไม้รอเลื้อย ลำต้นมีกิ่งมีหนาม ใบเดี่ยว ออกสลับรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนหรือสอบ ใบประดับสีต่างๆตามสีของดอก ออกเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3 ใบ บางพันธุ์มีใบประดับซ้อน รูปไข่ หรือ รูปรี ค่อนข้างกว้าง ปลายแลโคนมน ดอกมีสีตามพันธุ์เช่น สีแดง ม่วง ชมพู เหลือง หรือขาว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมเป็นหลอด คอดตรงกลาง ติดอยู่บนใบประดับแต่ละใบ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปลายหลอดแผ่ออก ภายในกลีบสีนวล เมื่อบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5-10 อัน ผลมีขนาดเล็ก มี 5 สัน ถิ่นกำเนิดมีที่ อเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไป ออกดอกตลอดปี
ขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง

ดอกอังกาบ

ดอกอังกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria cristata L.
วงศ์ : ACANTHACEAE



กรรณิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อสามัญ: กรรณิการ์ ( Night blooming jasmine)
เรื่องราวของดอกกรรณิการ์ มีมากมาย ดอกกรรณิการ์ มีลักษณะโดดเด่นคือก้านดอกเป็นสีแสด ดังที่มีกล่าวไว้ในกาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศกของเจ้าฟ้ากุ้ง
ดอกกรรณิการ์ใช้ย้อมผ้ากันมานาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะมีเครื่องนุ่งห่ม ให้ไปที่ป่าช้า ให้พิจารณาผ้าที่เค้านำมาห่อศพ เรียกว่าผ้าบังสุกุล พิจารณาว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วใช้ได้ ก็ดึงผ้าออกมา
อันเป็นประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าภาพจะเอาผ้าสีเหลืองมาวางใกล้กับโลง เรียกว่า ทอดผ้า ทอดแปลว่า ทิ้ง พระท่านก็จะมาจับผ้าและแสดงอาการพิจารณาผ้าบังสุกุล และกล่าวคำ อนิจจา วัตตาสัง ขารา
สมัยก่อนเมื่อนำผ้ามาแล้วจะต้องซักด้วยน้ำขี้เถ้า จนหมดกลิ่น แล้ว จึงนำมาย้อมด้วยดอกกรรณิการ์ โดยเฉพาะก้านดอก จะได้เป็นสีเหลืองฝาดๆ แล้วค่อยนำไปตัดเย็บเป็นสบง จีวร สังคาติ



ลำดวน
หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า “ต้นดวน” เป็นไม้คู่เมือง เกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษมาแต่โบราณ “ลำดวน” ปรากฏในชื่อเมืองเดิมของ จ. ศรีสะเกษ คือ เมืองนครลำดวนหรือเมืองศรีนครลำดวน ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองศรีนครลำดวนก็ได้รับพระราชทานนามว่า “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน” นอกจากนี้ยังปรากฏในชื่อบ้านนามเมืองของ จ. ศรีสะเกษอีกหลายแห่ง เช่น บ้านดวนใหญ่ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งล้วนเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่ครั้งสมัยขอม
ลำดวนเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวถึง ๓๐๐ ปี ดอกมีสีเหลืองนวล กลีบดอกเล็กแต่หนา งุ้มเข้าหากัน คล้ายกับดอกนมแมวแต่งามกว่า เริ่มออกดอกในช่วงเดือน ม.ค. และจะส่งกลิ่นหอมเย็นในช่วงเดือน ก.พ. ไปจนถึงเดือน เม.ย. ของทุกปี
ดอกลำดวนจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยพบว่าเมื่อนำดอกลำดวนไปอบให้แห้ง แล้วนำไปบด ชงกับน้ำร้อนดื่ม จะช่วยบำรุงเลือด แก้ไข้ แก้วิงเวียน




ดอกนมแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauwenhoffia siamensis Scheff.
วงศ์ : ANNONACEAE
ถิ่นเดิม : ภาคใต้ของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polianthes tuberosa
วงศ์ : Agavaceae
ชื่อสามัญ : Tuberose
ชื่ออื่น ๆ : :ซ่อนกลิ่น
ข้อมูลทั่วไปและประวัติ :ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ในวงศ์เดียวกันกับ
พลับพลึง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ จะมีกลิ่นหอมตั้งแต่เวลาเย็น
ถึงตอนกลางคืน ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ มีอายุหลายปี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีหัว ซึ่งเป็น
ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวจะคล้าย ๆกับหัวหอม ใบมีสีเขียว
เล็กและเรียวยาวใบจะโผล่ออกมาจากพื้นดิน ใบยาวประมาณ
1-1.5 ฟุต ดอกจะชูช่อออกมาตรงกลางกอของลำต้น และ
จะมีดอกเกาะตรงก้านดอกเรียงกันเป็นแนวตามก้านดอก ดอกมีสี
ขาว ดอกยาวประมาณ 1 นิ้ว ช่อดอก หนึ่งๆ จะยาวประมาณ 2-2.5
ฟุต แต่ละข่อดอกจะมีดอกย่อย 40-90 ดอก กลีบดอกแต่ละกลีบจะ
ไม่เท่ากัน กว่า จะบานหมดทั้งช่อใช้เวลา 5-7 วัน และมีกลิ่น
หอมมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน
การขยายพันธุ์ : ใช้หัว




ยี่โถเป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบรูปร่างเหมือนปลายหอก มีขนาดไม่ใหญ่นัก แคบและยาว ลำต้นเกลี้ยงๆ เปลือกมีสีเทา กิ่งจะแตกออกเป็นกลุ่มพุ่งขึ้นด้านบน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจากฝัก ปักชำ หรือการตอนกิ่ง

อุทยานดอกไม้..

ชม ผกา จำปา จำปี
กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง
...บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม
(ซ้ำ)...พิศ พวงชมพู กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ
...งาม อุบล ปน จันทร์กะพ้อ
ผีเสื้อ แตกกอ พร้อม เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน...(ซ้ำ



เริ่มที่....



จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ควรปลูกในที่ร่มบังแดด ใบมีขนาดใหญ่ยาว กว้าง 5 นิ้ว ยาว 8-10 นิ้ว ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปี เป็นดอกเดี่ยว สีเหลืองอมส้ม ดอกซ้อนสองชั้น กลีบแข็ง ยาว ดอกมีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าจำปี ดอกมักบาน 02.00-03.00 น. การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่งหรือไหล



ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia Longifolia
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ White Chempaka
ชื่ออื่นๆ จำปี
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินโดนีเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง จำปี กับ จำปา คือ จำปี จะมีสีขาว กลิ่นหอม เย็น แต่จำปา นั้นมีสีเหลืองและกลิ่นหอมได้ไม่เท่าจำปี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
จำปีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นใหญ่สูงกว่าจำปาเล็กน้อย ต้นจะแตกพุ่มยอดใบงามกว่าจำปา ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว ปลายใบจะแหลม โคนใบมน ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาวคล้ายๆ กับสีของงาช้าง จะมีกลีบอยู่ 8-10 กลีบ ซ้อนกัน กลีบดอกจะเรียวกว่าจำปา ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ยอดแหลมคล้ายผักข้าวโพดเล็กๆ ปลูกประมาณ 3 ปี จำปีถึงจะให้ดอก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
การปลูกและดูแลรักษา
จำปีเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด สามารถปลูกในดินค่อนข้างเหลวได้ แต่ที่ดีที่สุดควรปลูกในดินร่วนซุยมีธาตุอาหารเพียงพอ ต้องการการรดน้ำบ่อยๆ

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ต้มกะหล่ำเจ

มาแล้วจ้าต้อนรับเทศกาลกินเจ เป็นเมนูอาหารเจรสเลิศ
ต้มกะหล่ำเจ แม้ว่าหน้าตาจะแสนธรรมดา
แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า
รสชาติอร่อยเลิศล้ำ เกินพรรณนา
สูตรเด็ดจากเจ้พิม (คุณแม่ของเว็บคุ้กกี้เอง)
ถ้าไม่รักกันจริง ไม่นำออกมาเผยกันให้ดูนะเนี่ย
เมนูนี้ ทำไม่ยาก แต่จะทำให้อร่อยต้องมีเทคนิคกันเล็กน้อย
ก็ ลองเอาไปทำทานกันดูนะจ๊ะ



เครื่องปรุง
1. กะหล่ำปลี 4 หัว
2. เห็ดหอม 10 ดอก
3. ฟองเต้าหู้ทอด 1 ถ้วยตวง
ต้มกะหล่ำเจ4. ซิอิ๊วขาว 1/2 ถ้วยตวง


5. ซอสปรุงรส 2 ช้อนตวง
6. พริกไทยเม็ด 20 เม็ด
7. น้ำมันพืช
8. น้ำเปล่า


1. ผ่ากะหล่ำปลี ออกเป็นสี่ถึงหกซีก (ขึ้นอยู่ว่าหัวเล็กหรือใหญ่) นำไปล้างน้ำให้สะอาด และผึ่งให้แห้ง จากนั้นเทน้ำมันพืชใส่กะทะ รอจนน้ำมันร้อน ใส่กะหล่ำปลีลงทอดให้เหลือง และดูว่าผักนุ่มลง (เวลาทอดให้ใช้ไฟปานกลาง คอยกลับข้างกะหล่ำด้วย น้ำมันที่ใช้ต้องมากพอท่วมผัก ไม่เช่นนั้นผักจะไหม้) จากนั้นตักขึ้นพักสะเด็ดน้ำมัน (ต้องสะเด็ดน้ำมันนานๆ ไม่อย่างนั้นเวลาต้มออกมา จะมันมาก) ถึงตอนนี้กลิ่นกะหล่ำทอดก็หอมไปทั่วบ้านแล้วล่ะ
2. เรียงกะหล่ำใส่หม้อ โรยด้วยพริกไทยเม็ด บุบพอแตก ใส่น้ำเปล่าพอท่วมผัก ใส่ฟองเต้าหู้ทอด นำขึ้นตั้งไฟ

ส่วนเห็ดหอมแห้ง ให้นำไปแช่น้ำจนนุ่ม (ถ้าดอกแข็งมากให้ใช้น้ำอุ่น) จากนั้นนำมาหั่น
เป็นชิ้นพอคำ (อย่าลืมตัดแกนออก เพราะส่วนมากจะแข็ง เดี๋ยวจะทานไม่อร่อย) นำกะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย ใส่เห็ดหอมที่เตรียมไว้ลงผัด ใช้ไฟอ่อน ผัดจนเห็ดหอม มีกลิ่นหอม ปรุงรสด้วยซิอิ๊วขาวเล็กน้อย ตักขึ้นพักสะเด็ดน้ำมัน



3. ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว และซอสปรุงรส ตั้งไฟจน เดือนเข้ากันดี ชิมรสและปรุงรสเพิ่มตามความชอบ (ถ้าจะประหยัด ชิมแล้วรู้สึกว่าไม่เค็ม ปรุงรสเพิ่มด้วย เกลือ แต่ถ้าจะให้อร่อยเลิศแบบทุ่มทุนสร้างแนะนำว่าให้ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว ไม่ใช้เกลือค่ะ แบบว่าอร่อยมากๆ ขอบอก )

ยำบ้านต้นซุง

ยำบ้านต้นซุง

แอ่น แอ๊น... และแล้วก็ได้ฤกษ์เปิดหน้าเมนูเอกกันเสียที
หลังจากผัดกันมาเรื่อย..(มีแฟนๆ บางคนบอกว่าถ้าเป็น
ผัดซีอิ๊วก็ผัดได้หลายสิบจานอยู่ :-) ประเดิมเมนูแรกก็เป็น
สูตรเด็ดจากร้านบ้านต้นซุง (เมนูนี้เป็นเมนูโปรดของเว็บคุ้กกี้
เลยนะขอบอก) อนุเคราะห์ข้อมูลจาก "ร้านบ้านต้นซุง"
รสชาติหวานๆ อมเปรี้ยวนิดๆ แถมยังทำง่ายๆ
เหมาะสำหรับทำกินเล่นกันวันหยุด เอาล่ะเข้าเรื่องเลยดีกว่า



เครื่องปรุง
1. หมูยอ 1 ท่อน (ประมาณ 12-15 ซม.)
2. มะม่วงซอย (เอาออกเปรี้ยวหน่อยนะ)
3.หอมแดงซอย
4. กุ้งแห้ง
5. หมูหยอง 6.. แครอทซอย
7. น้ำปลา 2 ช้อนตวง
8. น้ำมะนาว 2 ช้อนตวง
9. น้ำตาลเชื่อม 2 ช้อนตวง

1. นำหมูยอที่ได้เตรียมเอาไว้ ผ่าเป็นสองซีก ทอดให้เหลือง (อันนี้พ่อครัวบอกว่าชอบนิ่มๆ
ก็ให้ทอดแป๊บเดียวพอ หากชอบออกกรอบๆ หน่อย ก็ให้ทอดด้วยไฟแรง 5-7 นาที จากนั้นนำไปใส่จานรอไว้
2. เอาเครื่องปรุงที่ได้เตรียมไว้คลุกเคล้าให้เข้ากันทั่ว (ลองหยิบมาชิมกันก่อนนิดนึง ชอบหวานเปรี้ยวอย่างไร ก็ปรุงเพิ่มกันตามสะดวก)


3. นำเอาเครื่องปรุงราดหมูยอที่เตรียมไว้ในจาน จากนั้นนำเอาหมูหยอง และแครอทโรยหน้า เป็นอันเสร็จพิธี

เท่านี้เราก็ได้อาหารจานเด็ด "ยำบ้านต้นซุง" ที่น่ารับประทาน :-)


วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันลอยกระทง

ประวัติ
พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

อาหารไทยภาคเหนือ

ภาคเหนือ ...
เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียม คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับจากแม่น้ำลำคลอง

อาหารที่คนภาคเหนือนิยมใช้กินแนม หรือ กินเคียงกับอย่างอื่น เช่น

หน้าปอง คือการเอาหนังควายมาเผาไฟ แล้วแช่น้ำขูดเอาส่วนที่ดำ ๆ ออก ตัดส่วนที่แข็งทิ้ง ตากแดดให้แห้ง นำแผ่นหนังไปปิ้งไฟพอให้อ่อนตัว ใช้มีดตัดเป็นเส้นแต่ไม่ให้ขาดจากกัน นำไปต้ม 3 วัน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนมีสีเหลือง ๆ เก็บไว้รับประทานได้นาน เมื่อจะรับประทาน ให้ทอดไฟกลางหนังจะพอง ถ้าไฟแรงหนังจะไหม้ ถ้าไฟอ่อนหนังจะไม่พอง น้ำหนัง คือเอาหนังควายเผาไฟจนไหม้ดำ แช่น้ำในโอ่ง แล้วขูดส่วนที่ไหม้ออก นำไปต้มในปี๊บโดยขัดแตะปากปี๊บไว้ หนังจะได้ไม่ลอยขึ้นมา ต้มไปจนหนังละลายเป็นน้ำข้น ๆ ยกลง กรองด้วยกระชอนไม้ไผ่ นำไปละเลงบาง ๆ บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนละเลงก็ได้ นำไปผึ่งในร่ม พอแห้งลอกเก็บ รับประทานกับแกง โดยปิ้งไฟอ่อน ๆ แคบหมู นำหนังหมูมากรีดมันออก ให้เหลือติดนิดหน่อย เคล้ากับเกลือ ผึ่งแดดให้น้ำมันแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็ก นำไปเคี่ยวกับน้ำมันในกระทะ พอหนังพองเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วเอาไปทอดในน้ำมันร้อนจัด หนังหมูพองเท่ากันตักขึ้น ไข่มดส้ม คือ การเอาไข่มดแดงไปดองกับเกลือ แล้วจึงนำมายำหรือแง การดองไข่มดส้มจะดองโดยใช้ไข่มด 1 ถ้วยดองกับเกลือ 2 ช้อนชา

เครื่องปรุงรสในอาหารเหนือ



ปลาร้า คือการหมักปลากับเกลือจนเป็นปลาร้า ใช้ใส่ในอาหารหลายอย่าง น้ำปู๋ คือ การเอาปูนาตัวเล็ก ๆ มาโขลก แล้วนำไปเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำปู๋ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น น้ำปู๋จะมีสีดำ มีความข้นพอ ๆ กับกะปิ การเก็บจะบรรจุใส่ขวดหรือกล่องเล็ก ๆ ปากกว้าง เก็บไว้ได้นาน


ถั่วเน่าแผ่น ( ถั่วเน่าแค่บ ) คือถั่วเหลืองต้ม หมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ


ถั่วเน่าเมอะ คือถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือ ห่อใบตองให้มีกลิ่น ใช้ทำน้ำพริก ใช้ผัด หรือปิ้งรับประทานกับข้าว


มะแขว่น เป็นเครื่องเทศทางเหนือ มีลักษณะเป็นพวงติดกัน เม็ดกลม เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เปลือกจะอ้าเห็นเมล็ดข้างในสีดำกลม กลิ่นหอม มีรสเผ็ดเล็กน้อย


มะแหลบ ลักษณะเมล็ดแบน กลิ่นหอมอ่อนกว่ามะแขว่น


ผักและเครื่องเทศทางภาคเหนือ จะเป็นผักเฉพาะถิ่น ผักบางชนิดจะคล้ายกับผักทางภาคอีสาน แต่เรียกชื่อต่างกัน ทางภาคเหนือจะมีเครื่องเทศเฉพาะคือ มะแขว่น กับมะแหล่บ อาหารภาคเหนือรสจะออกไปทางเค็มกับเผ็ด แต่ไม่เผ็ดจัด รสหวานไม่นิยม หากจะมีความหวานในอาหารบ้างก็จะได้มาจากเครื่องปรุงในอาหารนั้น ๆ ไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะนิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร อาการส่วนใหญ่จะผัดด้วยน้ำมัน เครื่องจิ้มก็จะเป็นน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่ ผักที่ใช้จิ้ม ส่วนใหญ่จะเป็นผักนึ่ง


ผักปู่ย่า ขึ้นในป่า ลักษณะเป็นพุ่ม ดอกสีเขียวอมชมพูน้ำตาล มีหนามถ้าดอกสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยว ใช้ทำยำ นอกจากนี้ผักปู่ย่า ยังมีผักที่ขึ้นตามป่า แล้วนำมาปรุงอาหาร หรือใช้เป็นผักจิ้มอีกหลายชนิด เช่น ผักสลิดจะมีรสขม ผักห้วนหมู จะมีใบใหญ่ สีเขียวเข้ม รสขม ผักกานถึง ใบเล็ก ๆ แหลม ๆ มีรสหวาน เวลาเด็ด เด็ดเป็นยอด นอกจากนี้ยังมีผักป่าอีกหลายชนิด

นอกจากผักป่าแล้วยังมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่เกิดตามป่าและเก็บมารับประทาน เช่น เห็ดแดง เห็ดเผาะ ( เห็ดถอบ ) เห็ดหูหนูลัวะ คือ เห็ดหูหนู


ผักขี้หูด ลักษณะของผักจะเป็นฝัก ขึ้นเป็นช่อ ฝักเล็กขนาด ? ซม. ยาว 7-8 ซม. ดอกสีม่วงสวย กินสดโดยจิ้มกับน้ำพริก น้ำผัก หรือ ต้ม นึ่งกินกับน้ำพริกอ่อง ผักขี้หูดเป็นผักฤดูหนาว ใบคลายใบผักกาด จะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นฝัก รสเผ็ดเล็กน้อย แต่ถ้าต้มสุกแล้วจะหวาน


ผักกาดตอง ใบคล้ายใบพลู แต่ใบสั้นกว่า สีเขียวออกขาว กลิ่นหอมฉุน ใช้กินกับลาบ


หอมด่วน คือ ผักชี อาหารภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมโรยด้วย ผักชีหั่นฝอย


ยี่หร่า ลักษณะใบฝอย สีเขียวเข้ม ใช้จิ้มน้ำพริก น้ำผัก น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง และใส่แกง


หยวกกล้วย จะใช้หยวกกล้วยป่า โดยใช้แกนให้มาทำแกงหรือต้มจิ้มน้ำพริก


บ่าค้อนก้อม คือ มะรุม ใช้แกงส้ม


บ่าริดไม้ คือ ลิ้นหมา ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 – 15 นิ้ว ฝักจะมีลักษณะแบน กว้าง 3 นิ้ว ต้มให้นุ่มใช้จิ้มน้ำพริก มีรสขม เป็นยาระบาย มีสีเขียวขี้ม้า


บ่าหนุน จะใช้ขนุนอ่อน โดยเด็ดเอาขนุนที่ออกลูกมากเกินไป และจำเป็นต้องเด็ดออกเสียบ้าง เพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกันมาก ขนุนอ่อนนี้ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก


ดอกงิ้ว คือดอกนุ่นพันธุ์พื้นเมือง


พริกหนุ่ม เป็นพริกทางเหนือ มีลักษณะยาวเรียว พริกหนุ่มสด จะมีสีเขียวอมเหลือง


ดอกลิงแลว เป็นดอกเล็ก ๆ สีม่วง มีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ที่เพิ่งแตกดอก คือเป็นปุ่มเล็ก ๆ ปลายดอกเรียว โคนใหญ่ ตัวดอกนุ่ม ลักษณะใบจะยาวคล้ายใบหมาก มีรสหวาน ใช้ทำแกงแค หรือ แกงเลียง


ตูน คือ คูน ต้นคล้ายต้นบอล แต่เปลือกสีเขียวนวลไม่คันเมื่อมือถูกยางคูน เนื้อตูนสีขาว เนื้อฟ่าม กินสดได้ โดยกินกับตำส้มโอ ตำมะม่วง


ผักหระ คือ ชะอม กินได้ทั้งสดและทำให้สุก นิยมกินกับตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือ ใส่แกง เช่น แกงแค เป็นต้น


ผักหนอก คือใบบัวบก กินสดกับน้ำพริกหรือแนม หรือกินแกล้มกับยำต่าง ๆ


หัวปี๋ ( ปลี ) คือหัวปลี กินได้ทั้งสดและทำให้สุก เช่น กินสดจิ้มกับน้ำพริกอ่อง ทำสุก เช่น ใช้แกงกับปลาย่าง ต้มสุกจิ้มน้ำพริก ปลีกล้วยที่นิยมกินกัน คือ ปลีกล้วยน้ำว้า กับปลีกล้วยป่า


ดอกแก ( ดอกแค ) ดอกแคที่นิยมกินกันมีสองสี คือแคขาวกบแคแดง ใช้ทำแกง หรือ ต้มจิ้มน้ำพริก ยอดแคก็กินได้


หน่อไม้ไร่ มีลักษณะเล็กยาว มีรสขื่นและขม นิยมเอามาทำเป็นหน่อไม้ปีป นอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังทำให้รสขื่นและขมของหน่อไม้คลายลง หน่อไม้ไร่ปีปนิยมทำหน่ออั่ว ยำหน่อไม้และผัด


มะเขือส้ม คือมะเขือลูกเล็ก ๆ ที่ติดกันเป็นพวง มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ



......... .........