วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

วันสงกรานต์

สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์โครจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 คำ เดือน 5 แต่การนับวันทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ แต่เดิมเราถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย และแม้ว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลเพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยปนะเทศ แต่ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือว่าวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัวอีกด้วย

ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกัน บ้างในแต่ละปี



ความสำคัญของวันสงกรานต์


1। เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี २. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิะกรรมทางศาสน 3. เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย 4. เป็นวันแสดงวันกตัญญูกตเวที ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 5. เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติและวันผู้สูงอายุ 6. เป็นวันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์


วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

โบสถ์ (คริสต์ศาสนา)

ในทางคริสต์ศาสนา โบสถ์ หมายถึงอาคารหรือสถานที่ที่ผู้นับถือศานาคริสต์มารวมกันเพื่อประกอบพิธีหรือทำศาสนกิจร่วมกัน

อาคาร "โบสถ์" (Church) คือ อาคารศักดิ์สิทธิ์สร้างขึ้นเพื่อนมัสการพระเจ้า เป็นสถานที่ซึ่งบรรดาสัตบุรุรวมตัวกันปฏิบัติคารวกิจสาธารณะ อาคารโบสถ์หมายถึง "บ้านของพระเจ้า" ด้วย คือบ้านที่มีไว้เพื่อให้ประชากรของพระมาชุมนุมพร้อมกันประกอบพิธีกรรมการมาชุมนุมกันเพื่อนมัสการพระเจ้า เป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของวิถีชีวิตคริสตชน และคริสตชนสำนึกตนเองว่าเป็นประชากรของพระเจ้า และพวกเขาก็มารวมตัวกันถวายนมัสการในฐานะที่เป็นประชากร



สมัยเมื่อครั้งโบสถ์เป็นบ้าน
ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของชีวิตพระศาสนจักร บรรดาคริสตชนไม่ได้มีสถานที่ "พิเศษ" สำหรับรวมตัวประกอบศาสนพิธีโดยเฉพาะ ในหนังสือกิจการอัครธรรมทูต เราจะพบว่าบรรดาคริสตชนไปที่พระวิหาร กรุงเยรูซาเล็ม ไปร่วมปฏิบัติศาสนกิจของชาวยิว (เทียบกิจการ 2:46; 3:1 5:12 - 42 ,21:26-30;22:171) แม้ว่าคริสตชนสมัยแรกเริ่มจะยังคง มีส่วนร่วมในพิธีกรรมของชาวยิวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่คริสตชนก็ถือปฏิบัติคารวกิจ เฉพาะแบบของคริสตชนมาตั้งแต่แรกแล้ว นั่นคือ "Fratio panis" พิธีบิขนมปัง หรือที่เราเรียกกันต่อมาในภายหลังว่าพิธีบูชาขอบพระคุณนั่นเอง สถานที่ที่ใช้ในการแบ่งปันปังในพิธีบูชาขอบพระคุณก็คือ "บ้าน" ของผู้รับศีลล้างบาปคนใดคนหนึ่ง แน่นอนคงจะเลือกบ้านที่จุคนได้พอสมควร สามารถให้การต้อนรับบรรดาศิษย์ จำนวนมากๆได้ เหมือนอย่างในวันเปนเตคอสเต "ซึ่งมีพี่น้องมาร่วมชุมนุมกัน ประมาณหนึ่งร้อยยี่สิบคน " (กจ।1:15) บรรดาคริสตชนจัดให้มีการรวมตัวกันทำนองนี้ เพื่อ "รับฟังคำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวกเจริญชีวิตสนิทสัมพันธ์กันฉันพี่น้อง บิขนมปังแบ่งปันกัน และสวดภาวนา"(กจ.2:42) เพื่อร่วมกิจกรรมดังกล่าว อาจจะใช้ห้องอาหารขนาดใหญ่ ห้องเดียวก็เพียงพอ ทั้งนี้ เพราะกิจกรรมหลักของการร่วมชุมนุมกันคือ การทานอาหารร่วมกัน ที่กรุงเยรูซาเล็ม ณ บ้านของมารีอา มารดาของยอห์น ที่มีฉายาว่ามาร์โก ก็เป็นไปในทำนองนี้ ณ ที่นั้นจะมีผู้คนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกัน เพื่อสวดภาวนา (กจ.12:12) ตอนที่เปโตรถูกจับขังคุกที่เมืองไตรอัส บรรดาคริสตชนร่วมชุมนุมกัน ในวันแรกต้นสัปดาห์ ณ ห้องหนึ่งชั้นบนเพื่อร่วมพิธีบิขนมปัง (กจ.20:7-8) ที่กรุงโรม นักบุญเปาโลทักทายปริสกาและอาควิลาว่า "กลุ่มผู้มีความเชื่อรวมตัวกันที่บ้านของฟิเลโมน (ฟม 2)

ส่วนประกอบโบสถ์
คำว่า "โบสถ์" (Church) มาจากคำภาษากรีกว่า "ekklesia" ตรงกับคำภาษาลาตินว่า "ecclesia" ความหมายตามตัวอักษร "ekklesia" คือผู้ได้รับเรียก (จากพระจิตเจ้า) ให้เรารวมตัวกัน หมายถึง ตัวอาคารโบสถ์ซึ่งเป็นสถานที่ให้การต้อนรับผู้ที่มาชุมนุมกันนี้ ความหมายของคำว่า "โบสถ์" มีพัฒนาการอันยาวนานตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร โบสถ์มีส่วนประกอบคราวๆ ดังนี้

ลานหน้าโบสถ์(Church Courtyard)
ลานหน้าโบสถ์ถือว่ามีความสำคัญมาก ที่จะต้องมีเผื่อไว้ เพราะลานนี้จะแสดงออกซึ่งคุณค่าของการให้การต้อนรับเป็นด่านแรก ดังนั้น อาจออกแบบเป็นรูปลานหน้าโบสถ์ที่มีเสาเรียงรายรองรับซุ้มโค้งอยู่โดยรอบๆ ด้าน หรือรูปแบบอย่างอื่นที่จะส่งผลคล้ายคลึงกัน บางครั้งก็ใช้ลานดังกล่าวในการประกอบพิธีด้วย หรือบางทีก็ใช้เป็นทางผ่านเข้า เป็น "ตัวเชื่อมโยง" ระหว่าง "ภายนอกโบสถ์" และ "ภายในโบสถ์" โดยจะต้องไม่ให้ส่งผลกระทบที่กลายเป็นการปิดกั้น แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับสภาพจิตใจจากความสับสนวุ่นวายของชีวิตภายนอก เตรียมจิตใจเข้าสู่ความสงบภายในโบสถ์

ระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์ (Atrium หรือ Nathex) และประตูโบสถ์
การสร้างโบสถ์ในคติเดิมเพื่อจะผ่านเข้าสู่โถงภายในอาคารโบสถ์ จะต้องผ่านระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์ที่เรียกกันว่า Atrium หรือ Nathex ก่อนและบริเวณนั้นจะมีประตูโบสถ์อยู่ด้วย ระเบียงนี้ คือ บริเวณที่ให้การต้อนรับบรรดาสัตบุรุษผู้มาร่วมพิธีซึ่งเปรียบเสมือนพระศาสนจักรเหมือน "มารดาผู้ให้การต้อนรับลูกๆ ของพวกเธอ" และประตูทางเข้าอาคารโบสถ์ก็เปรียบเสมือน "พระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นประตูของบรรดาแกะทั้งหลาย " (เทียบ ยน 10:7) ดังนั้นหากจะมีภาพตกแต่งที่ประตูกลาง ก็ให้คำนึงถึงความหมายดังกล่าวขนาดของประตูและทางเข้านี้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนให้เหมาะสมกับขนาดความจุของโถงภายในโบสถ์แล้ว ยังจะต้องคำนึง ถึงความจำเป็นของขบวนแห่อย่างสง่าที่จะต้องผ่านเข้าออกด้วย


หอระฆัง (Bell Tower) และระฆังโบสถ์ (Bell)
ในการออกแบบก่อสร้างโบสถ์ ควรจะคำนึงถึงบริเวณการก่อสร้างหอระฆัง และกำหนดให้มีการใช้ระฆัง เพื่อประโยชน์ใช้สอยแบบดั้งเดิม นั่นคือ การเรียกสัตบุรุษให้มาร่วมชุมนุมกันในวันพระเจ้า หรือเป็นการแสดงออกถึงวันฉลองและสมโภช รวมทั้งเป็นการสื่อสารให้ทราบถึงกันด้วยสัญญาณการเคาะระฆัง เช่น ระฆังเข้าโบสถ์วันธรรมดา ระฆังพรหมถือสาร ระฆังวันสมโภช ระฆังผู้ตาย ฯลฯ ควรละเว้นการใช้เสียงระฆังจากเครื่องเสียงและลำโพง

รูปพระ
สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของพระศาสนจักร พระรูปของพระคริสตเจ้า, พระแม่มารี และนักบุญได้รับการเคารพ ในโบสถ์ต่างๆแต่รูปพระเหล่านี้จะต้องจัดวางในลักษณะที่จะไม่ทำให้สัตบุรุษวอกแวกไปจากการประกอบพิธีที่กำลังดำเนินอยู่และไม่ควรจำนวนมาก และจะต้องไม่มีรูปนักบุญองค์เดียวกันมากกว่าหนึ่งรูป รวมทั้งจัดขนาดให้เหมาะสมด้วย โดยปรกติแล้วควรจะคำนึงถึงความศรัทธาของหมู่คณะทั้งหมดในการตกแต่งและการจัดสร้างโบสถ์ (I.G. 2

อ่างน้ำเสก (Holy Water Font)
อ่างน้ำเสกเตือนให้ระลึกถึง อ่างล้างบาป และน้ำเสกที่สัตบุรุษใช้ทำเครื่องหมายกางเขนบนตนเองนั้น เป็นการเตือนใจให้ระลึกถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับ ด้วยเหตุนี้เองที่อ่างน้ำเสกจึงตั้งไว้ตรงทางเข้าโบสถ์นอกจากนี้ยังกำชับให้ใช้วัสดุเดียวกัน มีรูปแบบและรูปทรงสอดคล้องกับอ่างล้างบาปด้วย

รูปสิบสี่ภาค (Stations of the Cross)
ไม่ว่ารูปสิบสี่ภาคจะประกอบด้วยพระรูปพร้อมทั้งไม้กางเขน หรือมีเฉพาะไม้กางเขนเพียงอย่างเดียว ก็ให้ประดิษฐานไว้ในโบสถ์ หรือ ณ สถานที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งรูปสิบสี่ภาค เพื่อความสะดวกของสัตบุรุษ (หนังสือเสก และอวยพร บทที่ 34 ข้อ 1098)

เครื่องเรือนศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Furnishings)
การประกอบพิธีกรรมของคริสตชนต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างทั้งที่เป็นโครงสร้างถาวรและที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ มีทั้งเป็นเครื่องเรือนหรือภาชนะ เราใช้ชื่อรวมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า "เครื่องเรือนศักดิ์สิทธิ์" หรือ "เครื่องเรือนพิธีกรรม" ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์เหล่านั้นซึ่งมีไว้ใช้สอยในระหว่างการประกอบพิธีการปฏิรูปพิธีกรรมสังคายนาก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วย "พระศาสนจักรเอาใจใส่กวดขันเป็นพิเศษ ให้เครื่องเรือนที่ใช้ในศาสนา สวยงามสมที่จะช่วยให้คารวกิจมีความสง่างาม พระศาสนจักรจึงยอมให้มีการเปลี่ยนปลงรูปทรง การตกแต่งที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิชาการตามยุคสมัย" (S.C.122

คริสตศานาในประเทศไทย มีหลายนิกาย แต่ละนิกายจะมีจารีตและการใช้คำ สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันนิกายที่มีประชาชนรู้จักและนับถือกันมากมีอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก (คริสตัง)และนิกายโปรเตสเเตนต์(คริสเตียน) แต่ละนิกายจะมีวิธีเรียกที่แตกต่างกันเช่น นิกายโรมันคาทอลิคจะเรียกโบถส์ของตนเองว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พระแม่มารี โบสถ์ในนิกายนี้จะตกต่างด้วยสถาปัตยกรรมยุโรบ ประดับประดาด้วยรูปปั้นต่างๆ แต่นิกายโปรแตสแตนส์จะเรียนกโบถส์ของตนเองว่า คริสตจักร เช่น คริสตจักรพระสัญญา อาคารของโบสถ์จะเน้นความเรียบง่ายเหมือนอาคารทั่วไป ไม่เน้นรูปเคารพหรือรูปปั้น อาจจะมีไม้กางเขนเล็กพอเป็นเครื่องหมาย แสดงถึงอาคารทางด้านศาสนกิจเท่านั้น

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก


ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก

กุมภาพันธ์เป็นเดือนที่อบอวลไปด้วยความสุขการแสดงถึงความรัก ความห่วงใยถึงคนที่ เราปรารถนาดีและ
อยากให้เขามีความสุข และเป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันแห่งความรักหรือ Valentine’s Day และวันนี้ยังมีคิวปิด หรือกามเทพ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันวาเลนไทน์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คิวปิดเป็นบุตรของวีนัสและมาร์ส แต่ ชาวกรีกเรียกคิวปิดว่า อีรอส ภาพของ คิวปิดที่มนุษย์โลกปัจจุบันได้รู้จัก
ก็คือภาพเด็กน้อยที่ถือคันธนูและลูกศร มีหน้าที่ยิงศรรักให้ปักใจคน ปัจจุบัน คิวปิดและธนูของเขากลายมาเป็น เครื่องหมายแห่งความรักที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด และความรักของเขามีกล่าวถึงบ่อยในภาพของ การยิงศรรัก ระหว่าง หัวใจสองดวงให้รักกัน เรียกกันว่า ศรรักคิวปิด เราจึงมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยว กับประวัติความเป็นมาและความสำคัญ ของวันนี้กันค่ะ

เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้น ตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันหยุดเพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโนผู้เป็น จักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจาก นี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่ง อิสตรีเพศและการแต่งงานและในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาล เฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การ ดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะ ถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่ง กรุงโรม พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การ ทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและ แต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็น ความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูก เก็บไว้ที่โบสถ์ พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุม ศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็น ที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มา จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้อง หลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะ เป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคง แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความ กล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลอง เทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้


วาเลนไทน์ ในแต่ละประเทศจะมีประเพณีหรือการ ปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองและเป็นการแสดงถึง ความรัก
ที่มีระหว่างกัน ต่อมาเมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางด้าน การพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องมีการพิมพ์บัตร อวยพรโดยเข้ามาแทนที่จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ และปัจจุบันก็มีการส่งบัตรอวยพรทางออนไลน์เพื่อ
แสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วย ให้คนที่ต้องการ
แสดงความรักความห่วงใย ถึงคนที่รักได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ประวัติ วันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้เป็นเพียง หนึ่งในหลายๆเรื่องเท่านั้น แต่ไม่ว่าประวัติ ที่แท้จริง จะเป็นอย่างไรก็ตาม ใน ปัจจุบัน นี้เราได้ถือว่าวันวาเลนไทน์เป็น วันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เลยที เดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนมและ การ์ด เพื่อบอกความนัยให้แก่คนพิเศษ ของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่เราส่งความรู้สึก ดีๆให้แก่กัน...